21 มีนาคม 2023

ผลของสารนิวเคลียร์รั่วไหลลงสู่สิ่งแวดล้อม

จากกรณี ซีเซียม-137 ที่จังหวัดปราจีนบุรี นั้น ความจริงแล้วเคยมีเหตุการณ์สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา ที่เกิดขึ้นประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ครั้งนั้น วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ‘The Fukushima Accident’ เป็นการรั่วไหลของสารเคมีจากโรงงานที่ฟุกุชิมา เตาปฏิกรณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลีย์ได้รับความเสียหาย หลังเกิดแผ่นดินไหว magnitude 9.0 โดยสารเคมีที่รั่ว ประมาณ 1.8 × 1016 Bq of cesium-134, 1.5 × 1016 Bq of cesium-137 and 1.6 × 1017 Bq of iodine-131 อ่านรายละเอียดต่อจากการศึกษา https://etj.bioscientifica.com/view/journals/etj/1/3/ETJ342697.xml  

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5770131/

ผลของสารกัมมันตรังสี I131, Ce137, Ce134 เกิดได้ทั้งจากรับสารพิษปริมาณมากในระยะเวลาสั้น หรือรับปริมาณน้อยต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่ละตัวมีระยะเวลาการสลายตัวและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน

ไอโอดีน-131 มีครึ่งอายุ 8 วัน เมื่อนํามาเก็บเป็นเวลา 40 วันจะเหลือพลังงานเพียง3%เท่านั้น

สารบางตัวมีครึ่งอายุค่อนข้างนานเช่นโคบอลท์-60มีครึ่งอายุ5.2ปี, ถ้าต้องการให้เหลือพลังงาน 3% ต้องเก็บนานถึง 25 ปี

ส่วนแร่ซีเซียม-137 มีครึ่งอายุ 30 ปี ต้องใช้เวลานานถึง 150 ปี จึงจะเหลือพลังงาน 3%

รังสีที่แผ่ออกจากธาตกัมมันตรังสี คือ กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) เมื่อผ่านเข้าไปในสิ่งมีชีวิต ทั้งหลายจะทําให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนของอะตอมตามแนวทางที่รังสีผ่านไปทําให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต 2 แบบ คือ เฉียบพลัน และเรื้อรัง

ผลของรังสีต่อร่างกาย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ผมร่วง เซลล์ตาย เป็นแผลเปื่อย เกิดเนื้อเส้นใยจํานวนมากที่ปอด (fibrosis of the lung) เกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) มะเร็งไทรอยด์ ต้อกระจก (cataracts) อย่างไรก็ดี การเกิดผลเสียขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับ  ส่วนของร่างกายที่ได้รับ และอายุของผู้ได้รับรังสี

ข้อมูลจาก https://www.fisheries.go.th/quality/สารกัมมันตรังสี.pdf

การดูแลรักษาเมื่อสัมผัสสารรังสี ได้แก่ ลดการดูดซึมสารรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยออกห่างจากสถานที่นั้น ใส่เครื่องป้องกัน ล้างทำความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าที่เปื้อนสารรังสี พยายามให้ปัสสาวะ และอุจจาระออกมา รวมถึงการให้สารต้านพิษ (antidote) เช่น สารต้านพิษ 137Cs antidote คือ Prussian blue เป็นต้น https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6995530/

Share on social media:
Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram

โพสที่เกี่ยวข้อง