จากเดิมเมื่อปี 2018 Endocrine Society ได้ออกแนวทาง Hypothalamic-Pituitary and Growth Disorders in Survivors of Childhood Cancer: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline ออกมา
ในปีนี้ก็มีบทความรีวิวเรื่อง Endocrine health in survivors of adult-onset cancer ออกมาด้วย ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่พบเป็นมะเร็งในวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการรักษาจนอาจพิจารณาเรียกได้ว่าหายจากโรคหรืออยู่ในการควบคุมได้ดีในระยะยาวและไม่น่ามีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนในระบบต่อมไร้ท่อได้บ่อยถึงร้อยละ 40-60 โดยกลุ่มโรคต่อมไร้ท่อที่พบเป็นได้ในหลายต่อม เช่น hypothalamic-pituitary dysfunctions, hypogonadisms, osteoporosis, or metabolic disorders โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับการรักษาเนื้องอกแบบเข้มข้นโดยตรง ภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีแนวทางเวชปฏิบัติในแต่ละด้านของโรคต่อมไร้ท่อเหล่านี้ออกมามากมายจากหลากหลายองค์กรทั้งด้าน fertility preservation, growth hormone replacement, hypogonadism, bone health, immune therapy เป็นต้น
อาการที่เกิดขึ้นอาจพบเพียงเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการรุนแรงจนส่งผลกับสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยคือโรคต่อมไร้ท่อเหล่านี้ทั้งที่สามารถดูแลรักษาได้แต่ส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานหลายปี
ดังนั้นการเพิ่มความตระหนักรู้ ออกแบบเครื่องมือคัดกรองที่ได้มาตรฐาน มีแนวทางในการดูแลรักษาที่ครอบคลุม รวมทั้งการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างแพทย์สาขาต่อมไร้ท่อกับแพทย์สาขามะเร็งวิทยาจึงมีความจำเป็นเพื่อค้นหาผู้ป่วยเหล่านี้ตั้งแต่ในระยะแรกเพื่อวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่าง specific assessment จากการตรวจเลือดแบ่งได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่
- Pituitary ได้แก่ การตรวจ TSH, FT4, FT3, GH, Prolactin, ACTH, Cortisol
- Gonads ได้แก่ Testosterone, Estrogens, LH, FSH, AMH
- Bones ได้แก่ Calcium, Vitamin D
- Metabolism ได้แก่ Lipids, A1C, glucose, glucose tolerance
- Vitamins ได้แก่ Vitamin D, B12, Folic acid, others if required
ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่าน fulltext ได้ตาม link https://www.thelancet.com/journals/landia/article/PIIS2213-8587(24)00088-3/fulltext#:~:text=Cancer%20statistics%2C%202021.&text=Endocrine%20complications%20occur%20in%2040,dysregulation%20of%20bone%20and%20metabolism.