Consensus Statement on Vitamin D Status Assessment and Supplementation

จากงานประชุม 6th International Conference “Controversies in Vitamin D” ในปี 2022 มีข้อถกเถียงในหลายประเด็น โดย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การประเมินภาวะขาดวิตามินดีกับคำแนะนำในการเสริมวิตามินดีได้มีข้อสรุปออกมาโดยมีเนื้อหาสำคัญ ได้แก่

  • การวัดระดับ Total serum 25-hydroxyvitamin D เป็นการประเมินสถานะวิตามินดีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด แต่เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ รวมทั้งการควบคุมมาตรฐานการตรวจและค่ามาตรฐานซึ่งแตกต่างกันไปในสภาวะที่ต่างกันนั้นยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยในปัจจุบันยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการตรวจคัดกรองระดับวิตามินดีในประชากรทั่วไป โดยแนะนำให้ประเมินในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามินดี

  • ความรู้ที่ก้าวหน้าเกี่ยวกับวิตามินดีในด้าน metabolism, noncanonical metabolites, mechanisms of action และ genetic polymorphisms สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจในบทบบาทของวิตามินดีทั้งในด้านโภชนาการและโรคได้มากขึ้น
  • ภาวะขาดวิตามินดีลดการดูดซืมแคลเซียมที่ลำไส้ส่งผลให้เกิด secondary hyperparathyroidism จนทำให้สูญเสียมวลกระดูกและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ จากข้อมูล Meta-analyses รวมการศึกษาต่างๆ พบว่าการให้วิตามินดีและแคลเซียมร่วมกันลดการเกิดกระดูกหักรวมทั้งกระดูกสะโพกหักได้ในกลุ่มผู้ที่อยู่ใน nursing home
  • การศึกษา Post hoc analyses จากการศึกษาใหญ่เรื่อง extraskeletal effects ของวิตามินดีพบความเชื่อมโยงระหว่างระดับวิตามนดีกับระบบภูมิคุ้มกันและการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนั้นยังอาจมีผลดีกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและการเสียชีวิตด้วยเช่นกัน

  • การให้วิตามินดีเสริมสามารถให้เป็นแบบรายวันได้ หรือหากให้ในช่วงที่นานขึ้น เช่น รายสัปดาห์หรือทุก 1-4 สัปดาห์อาจช่วยแก้ปัญหาการกินไม่ครบได้ดีขึ้น

  • Oral cholecalciferol (วิตามิน D3) ยังคงเป็นรูปแบบที่แนะนำในการเสริมวิตามินดี ในขณะที่การให้ในรูปแบบอื่น เช่น calcifediol, calcitriol, alfacalcidol และการให้ทางหลอดเลือดควรเลือกใช้เฉพาะในบางสถานการณ์

ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านและ download fulltext ได้ฟรีตาม link https://academic.oup.com/edrv/advance-article/doi/10.1210/endrev/bnae009/7659127?searchresult=1

 

ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้
แชร์บทความ