- ไอโอดีน เป็น micronutrient ที่จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ แนะนำให้ผู้ใหญ่รับประทานไอโอดีนวันละ 150 µg
- การวัดปริมาณไอโอดีนในร่างกาย เช่น ตรวจไอโอดีนในปัสสาวะ median urinary iodine concentrations, ตรวจเลือดวัดระดับ dried blood spot thyroglobulin concentrations, neonatal serum thyrotropin concentrations หรือ อัลตราซาวน์ดูขนาดต่อมไทรอยด์ เพื่อประเมิน iodine status เป็นต้น
- การได้รับจากอาหารที่ผสมไอโอดีนมากเกินไป (สาหร่ายทะเล นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องดื่มบางชนิด ) หรือยาบางชนิดที่มีไอโอดีนผสม amiodarone (an iodine-containing medication to treat cardiac arrhythmias) ยาทาแผลฆ่าเชื้อ หรือ รังสี iodinated contrast media.
- การได้รับไอโอดีนมากไป ส่งผลให้การทำงานของไทรอยด์ผิดปกติได้ ทั้ง hypothyroidism หรือ hyperthyroidism โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่มีความเสี่ยง เช่น ทารก เด็กที่กำลังโต หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร รายที่ไตเสื่อม รายที่เคยเป็นโรคไทรอยด์อยู่ก่อน เป็นต้น
- กลไกการเกิดไทรอยด์ผิดปกติในผู้เป็นโรคไตเสื่อม เช่น Metabolic acidosis ส่งผลให้ลดการจับของ thyroid hormones กับ thyroid-binding proteins, inflammation ภาวะ malnutrition นอกจากนี้ ยังมีการลดการขับออกของไอโอดีน อีกด้วย
- อ่านต่อ https://academic.oup.com/edrv/advance-article/doi/10.1210/endrev/bnae019/7693016?login=false
Share on social media:
Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram