โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) คือภาวะความผิดปกติของตับที่เกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ตับที่มีปริมาณมาก มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินและภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผู้ป่วยราวหนึ่งในสามอาจมีการอักเสบของตับได้ (Nonalcoholic steatohepatitis หรือ NASH) ซึ่งหากการอักเสบภายในตับนี้เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานจะนำไปสู่การเกิดพังผืด (fibrosis) หรือ นำไปสู่ภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ในที่สุด รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะมะเร็งตับ (liver cancer) ด้วย ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสพบ NAFLD ร่วมด้วยถึงร้อยละ 70 และ เป็นกลุ่มที่มีโอกาสเป็นพังพืดได้เร็ว (rapid progressor) เมื่อเทียบผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน
แนวทางในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดพังผืดที่ตับ สามารถคำนวณได้ FIB-4 index (https://www.mdcalc.com/calc/2200/fibrosis-4-fib-4-index-liver-fibrosis) ซึ่งประกอบด้วย อายุ ค่าเอนไซม์ตับ (SGOT, SGPT) และ ปริมาณเกร็ดเลือด ในรายที่คำนวณแล้วค่าน้อยกว่า 1.3 ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ ค่ามากกว่า 2.67 ถือว่ามีความเสี่ยงสูง ค่า 1.3 -2.67 มีความเสี่ยงปานกลาง ในรายที่มีความเสี่ยงปานกลางและสูง แนะนำให้ตรวจประเมินต่อด้วย การตรวจ fibroscan หรือ transient elastography ซึ่งจะสามารถบอกปริมาณไขมันและพังผืดในตับได้ การเจาะชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) ปัจจุบันทำลดลงมาก พิจารณาทำเมื่อต้องวินิจฉัยแยกสาเหตุตับอักเสบอื่นๆ
แนวทางการรักษาหลักของ NAFLD ประกอบด้วย การปรับพฤติกรรม (lifestyle modification) ทั้งในแง่ของปรับอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนัก 5-10% ของน้ำหนักตั้งต้น หลีกเลี่ยงการดื่ม alcohol และ ในกรณีที่เป็นเบาหวาน พิจารณาเลือกยาที่ข้อมูลในการรักษา NAFLD ได้แก่ ยากลุ่ม pioglitazone และ GLP-1 RA
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://academic.oup.com/jcem/article/108/2/483/6776153?login=true