- การติดตามผลการรักษาโรคกระดูกพรุนในปัจจุบันยังคงใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (bone mineral density; BMD) เป็นวิธีมาตรฐาน ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาเพราะต้องประเมินที่ 1-2 ปี หลังให้การรักษา อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจยังมีราคาสูง ต่างจากการใช้ bone turnover markers (BTM) ที่มีราคาถูกกว่า สามารถตรวจได้จากเลือดและปัสสาวะ ช่วยประเมินการตอบสนองของการรักษาทั้งกลุ่มยาต้านกระดูกพรุนและยาที่เน้นเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก (anti-resorptive และ anabolic treatment) ได้ตั้งแต่ 3-6 เดือนแรกหลังการรักษา อย่างไรก็ตามช่วงแรกที่มีการใช้ค่า bone turnover markers กลับไม่ได้รับความนิยมเพราะมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวรบกวน เช่น เพศ อายุ ช่วงเวลาในการส่งตรวจ การรับประทานอาหาร และยังมีข้อระวังในการแปลผลของการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายทางคลินิก (least significant change) ในแต่ละห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังไม่มีค่ามาตรฐานที่ชัดเจน
- ปัจจุบันหลายโรงพยาบาลสามารถส่งตรวจค่า bone turnover markers ได้มากขึ้น ดังนั้นการส่งตรวจเพื่อติดตามการรักษาโรคกระดูกพรุน ควรพิจารณาในแง่ของตัวรบกวน วิธีการแปลผลที่ถูกต้อง และอาจต้องใช้การตรวจความหนาแน่นของกระดูกควบคู่กันในการแปลผลทางคลินิก
- ข้อมูลจากทางฝั่งยุโรปได้รีวิวเกี่ยวกับข้อจำกัดของ bone turnover markers แต่ละชนิดในการส่งตรวจติดตามการรักษาของยาแต่ละกลุ่ม รวมไปถึงการใช้ค่า cut-point ที่ใช้ในการติดตามการรักษาให้ชัดเจนมากขึ้น
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.eje-online.org/content/178/1/R19.full.pdf+html
Eur J Endocrinol 178 (1) R19–R31