COVID-19 Related Thyroid Disorder  

โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือ COVID-19 เกิดจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus (SARS-CoV-2) ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบ และยังส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อหลายระบบรวมถึงต่อมไทรอยด์  ผู้ป่วย COVID-19 ประมาณร้อยละ 15 จะมีความผิดปกติของการทำงานไทรอยด์ 1

ความผิดปกติของไทรอยด์ที่พบได้ ได้แก่

  1. Subacute and Atypical Thyroiditis

Subacute thyroiditis มักจะพบในผู้หญิง อายุน้อย มีอาการที่จำเพาะต่อ thyroiditis คือ มีไข้ เจ็บคอ บางรายมีอาการไทรอยด์เป็นพิษชัดเจน เกิดในช่วง 5-42 วัน หลัง COVID-19 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ COVID-19 ไม่รุนแรง และ ในบางรายไม่มีอาการแสดงของ COVID-19 เลย (asymptomatic) 2  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตรวจไม่พบ thyroid autoantibody และ มีภาพรังสีวิทยา (thyroid ultrasound หรือ uptake) ซึ่งสนับสนุนภาวะ thyroiditis การรักษาหลัก คือ การให้  glucocorticoid ส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลับมาสู่ภาวะ euthyroidism

นอกจากนี้ COVID-19 ทำให้เกิด atypical thyroiditis มีรายงานในผู้ป่วยที่เป็น severe COVID-19 pneumonia3 มีลักษณะเด่นคือ ผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บบริเวณคอ (silent thyroiditis) พบ lymphopenia การทำงานของไทรอยด์ พบลักษณะ transient T4 toxicosis คือ มี T3 ต่ำ T4 สูงหรือปกติ และ TSH ต่ำ (thyrotoxicosis + non-thyroidal illness) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตรวจไม่พบ thyroid autoantibodies ultrasound ต่อมไทรอยด์พบลักษณะ focal hypoechoic area หลังจากติดตาม 2 เดือน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 75 กลับมามีการทำงานไทรอยด์ปกติ ในขณะที่ ผู้ป่วยร้อยละ 25 กลายเป็น hypothyroidism

กลไกการเกิด thyroiditis ยังไม่ทราบชัดเจน สมมติฐานเชื่อว่าเป็นผลจาก 1) direct infection ต่อมไทรอยด์มีการแสดงออกของ angiotensin-converting enzyme 2 และ transmembrane protease serine 2 ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้เข้าของ SARS-CoV-2 4  2) immune mediated damage พบว่าภาวะ thyroiditis สัมพันธ์กับระดับ cytokine ที่สูง 5

  1. Graves’ disease

มีรายงานการเกิด Graves’ disease 4 ราย โดย 3 รายเป็นผู้ที่มีประวัติ Graves’ disease เดิมที่รักษาหายแล้ว และ 1 รายไม่มีโรคไทรอยด์เดิมมาก่อน 6, 7 เชื่อว่าการเกิด Graves’ disease เป็นผลจากภาวะ hyperinflammatory state จากการติดเชื้อ

  1. Non-thyroidal illness syndrome 5

พบได้ในภาวะเจ็บป่วยทั่วไป การทำงานไทรอยด์จะพบ ระดับ TSH ต่ำ Free T3 ต่ำ ความผิดปกติสัมพันธ์กับระดับ IL-6, CRP lymphopenia, ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย

  1. Hypothyroidism 5

มีรายงานการพบ hypothyroidism ร่วมกับ COVID-19 ส่วนใหญ่เป็นจาก autoimmune thyroid disease ข้อมูลการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ชัดเจน ไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคไทรอยด์มาก่อน COVID-19 หรือ COVID-19 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคไทรอยด์

โรค COVID-19 ทำให้ความผิดปกติของไทรอยด์ได้หลายอย่าง แต่อย่างไรก็ดี ไม่แนะนำให้ตรวจการทำงานไทรอยด์ในผู้ป่วย COVID-19 ทุกราย ยกเว้น ในรายที่มีโรคไทรอยด์อยู่เดิม หรือ มีอาการสงสัยภาวะ hypothyroidism หรือ hyperthyroidism ในขณะเดียวกันต้องพึงระวังในผู้ป่วยที่มาด้วย subacute painful thyroiditis ว่าอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจชัดเจน

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ COVID-19 and Thyroid Diseases: A Bidirectional Impact

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Lui DTW, Lee CH, Chow WS, Lee ACH, Tam AR, Fong CHY, et al. Thyroid Dysfunction in Relation to Immune Profile, Disease Status, and Outcome in 191 Patients with COVID-19. J Clin Endocrinol Metab. 2021;106(2):e926-e35.
  2. Caron P. Thyroiditis and SARS-CoV-2 pandemic: a review. Endocrine. 2021;72(2):326-31.
  3. Muller I, Cannavaro D, Dazzi D, Covelli D, Mantovani G, Muscatello A, et al. SARS-CoV-2-related atypical thyroiditis. Lancet Diabetes Endocrinol. 2020;8(9):739-41.
  4. Chen W, Tian Y, Li Z, Zhu J, Wei T, Lei J. Potential Interaction Between SARS-CoV-2 and Thyroid: A Review. Endocrinology. 2021;162(3).
  5. Duntas LH, Jonklaas J. COVID-19 and Thyroid Diseases: A Bidirectional Impact. J Endocr Soc. 2021;5(8):bvab076.
  6. Jiménez-Blanco S, Pla-Peris B, Marazuela M. COVID-19: a cause of recurrent Graves’ hyperthyroidism? J Endocrinol Invest. 2021;44(2):387-8.
  7. Mateu-Salat M, Urgell E, Chico A. SARS-COV-2 as a trigger for autoimmune disease: report of two cases of Graves’ disease after COVID-19. J Endocrinol Invest. 2020;43(10):1527-8.
Share on social media:
Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram

โพสที่เกี่ยวข้อง