Hypoparathyroidism ทำให้เกิด hypocalcemia, hyperphosphatemia และ hypercalciuria สาเหตุส่วนใหญ่พบเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังการผ่าตัด นอกนั้นอาจเกิดจาก autoimmune, genetic, infiltrative diseases, mineral deposition หรือระดับแมกนีเซียมผิดปกติ โรคนี้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกายหลายระบบและส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนระยะยาวซึ่งเป็นผลจาก ectopic calcification เช่น ที่ไตเกิดเป็น nephrocalcinosis, nephrolithiasis และ renal impairment ที่เพิ่มเติมจาก respiratory, cardiac or neurological manifestations การรักษาโรคนี้ตามปกติคือการให้แคลเซียมและ active vitamin D แต่ก็มีข้อจำกัด เช่น การแกว่งของระดับแคลเซียมและภาระการรับประทานยาหลายเม็ด รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนในระยะยาว ในขณะที่ PTH replacement therapy เป็นการรักษาที่ประสิทธิภาพดีในการทำให้ระดับแคลเซียมเป็นปกติและลดระดับฟอสเฟตได้ ขณะนี้มียากลุ่มใหม่คือ long-acting PTH analogue เช่น palopegteriparatide ซึ่งมีข้อมูลว่าสามารถคงระดับแคลเซียมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ลดภาระการรับประทานยาหลายเม็ดและเพิ่มคุณภาพชีวิต รีวิวนี้รวบรวมสรุปคำแนะนำต่างๆ ในด้านพยาธิสรีรวิทยา การประเมินและแนวทางการดูแลรักษา hypoparathyroidism และอ้างอิง 2022 International Hypoparathyroidism guidelines
ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ตาม linkhttps://www.nature.com/articles/s41574-024-01075-8