เนื้องอกต่อมใต้สมองที่ตรวจพบโดยบังเอิญ พบประมาณ 16-36% ของเนื้องอกต่อมใต้สมองทั้งหมด ความชุก 15-21 ราย ในประชากรแสนราย โดยมากมักพบก้อนขนาดเล็ก และไม่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมอง อย่างไรก็ดี ถึงแม้ตรวจเจอก้อนต่อมใต้สมองโดยบังเอิญ ก็ควรได้รับการประเมินอย่างละเอียด เช่น ขนาดก้อน การกดเบียด optic chiasm or cavernous sinus รวมถึง การซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจฮอร์โมนของต่อมใต้สมองทั้งในแง่ฮอร์โมนเกินและฮอร์โมนขาดมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร ถึงแม้เป็นการตรวจพบเนื้องอกต่อมใต้สมองโดยบังเอิญก็ตาม เนื่องจากพบ functioning pituitary ถึง 8.8-24% ใน pituitary incidentaloma การตรวจฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง เช่น prolactin level, IGF-1 level เป็นต้น
การประเมินภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่ก้อนขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 6 mm เนื่องจากพบภาวะพร่องฮอร์โมนได้ถึง 23-27% ในรายที่ก้อนขนาดเกิน1ซม. เช่น 8 AM serum cortisol <3 ug/dL but low ACTH คิดถึงภาวะ ACTH deficiency (หาก cortisol levels 3-15 ug/dL แนะนำให้ ทดสอบ cosyntropin stimulation test) ในแง่ thyroid axis หากพบ normal / low FT4 with normal TSH บ่งถึง TSH deficiency, ประเมิน gonadotroph deficiency ด้วยการเจาะ FSH LH and sex hormone ส่วนการประเมิน GH deficiency อาจไม่จำเป็นในผู้ใหญ่
The Endocrine Society และ the French Endocrine Society แนะนำให้ส่งตัวไปผ่าตัด หากมีปัญหาเรื่องตา การมองเห็น เนื่องจากก้อนอาจกดเบียด optic nerves/ chiasm และอาจพิจารณาผ่าตัดกรณี ดังต่อไปนี้ proximity to the chiasm proximity, anterior hypopituitarism, tumor enlargement, ต้องการตั้งครรภ์ หรือมีโอกาสเสี่ยงเลือดออกในก้อน apoplexy นอกจากนี้ควรส่งปรึกษา neuro-ophthalmologic evaluation ตั้งแต่แรกเริ่มด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง <5.0 mm ห่างจาก chiasm.
endocrine society แนะนำการติดตามขนาดก้อน หากก้อนเล็กกว่า 1 ซม. แนะนำ MRI ทุก 1 ปี ติดต่อกัน 3 ปี หากก้อนไม่โตขึ้น พิจารณา MRI ห่างขึ้น ส่วน French Consensus Group แนะนำไม่ต้องติดตามหากก้อน < 5.0 mm แต่ให้ทำ MRI ซ้ำที่ 6 เดือนและ 2 ปี หากก้อนขนาด5.0-10.0 mm และไม่ต้องติดตามอีกหากก้อนไม่โตขึ้น
read more https://www.endocrinepractice.org/action/showPdf?pii=S1530-891X%2822%2900645-0