Emily N Manoogian และคณะ นำเสนอบทความที่น่าสนใจเรื่อง Time-restricted Eating for the Prevention and Management of Metabolic Diseases ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Endocrine Reviews 

  • Time-restricted eating เป็น nutrition intervention ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยรับประทานอาหารอยู่ในช่วงเวลาที่จำกัดระหว่าง 8-10 ชั่วโมง (น้อยกว่า 12 ชั่วโมง) โดยไม่ต้องพยายามลด caloric intake และอดอาหารในช่วงเวลาที่เหลือของทั้งวัน
  • การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า time-restricted feeding โดยไม่ได้ลด caloric intake สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของ metabolic diseases ได้แก่ obesity, glucose intolerance, hepatic steatosis, dyslipidemia, age-related decline in cardiac function 
  • การศึกษาในมนุษย์ แบบ pilot studies พบว่า time-restricted eating ไม่ว่าจะลด caloric intake หรือไม่ สามารถลดน้ำหนัก, glucose intolerance, hypertension, dyslipidemia
  • Time-restricted feeding ในสัตว์ทดลอง ทำให้ metabolism ดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก molecular circadian clock
  • การศึกษาในระดับโมเลกุลในสัตว์ทดลอง แสดงให้เห็นว่า time-restricted feeding ส่งผล pleiotropic effects ผ่านหลายกลไกกับอวัยวะต่างๆ และมีผลต่อ gut microbiome composition

สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Time-restricted Eating for the Prevention and Management of Metabolic Diseases

Image from Manoogian EN et al. Time-restricted eating for the prevention and management of metabolic diseases. Endocr Rev2021 Sep 22;bnab027. doi: 10.1210/endrev/bnab027. Online ahead of print.

Share on social media:
Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram

โพสที่เกี่ยวข้อง