แนวทางการรักษากระดูกพรุนแบบตรงตามเป้าหมาย 2024 นี้ออกโดย ASBMR/BHOF task force เป็นการอัปเดตเพิ่มเติมจากตอนปี 2017
เป้าหมายในการดูแลโรคกระดูกพรุนคือป้องกันกระดูกหัก แนวทางการดูแลที่ตรงตามเป้าหมายในการจัดการความเสี่ยงกระดูกหักในระยะยาวช่วยให้เลือกการรักษาเริ่มต้นและการรักษาตามลำดับได้อย่างเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งการตัดสินใจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางคลินิกประวติการเกิดกระดูกหัก การระบุกระดูกสันหลังหักซึ่งต้องเลือกการตรวจทางรัวสีวิทยาที่เหมาะสม การวัดความหนาแน่นของกระดูกร่วมกับการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงทางคลินิกที่สำคัญอื่นๆ
เป้าหมายการรักษาควรปรับไปตามความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายโดยขึ้นกับข้อบ่งชี้ที่จำเพาะในการเริ่มต้นการรักษา จากเดิมที่ยาตัวเลือกแรกเป็น bisphosphonate ในผู้ป่วยทุกราย คำแนะนำปัจจุบันแนะนำว่าการเลือกยาเริ่มต้นควรมุ่งเป้าไปที่การลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักอย่างรวดเร็วในรายที่มีความเสี่ยงสูงมากชัดเจน เช่น ในรายที่เพิ่งมีกระดูกหัก และควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ความหนาแน่นของกระดูกจะเป็นไปตามเป้าหมายภายในช่วงเวลาที่เหมาะสมระหว่าง osteoanabolic กับ antiresorptive therapy โดยแถลงการณ์คำแนะนำนี้รวบรวมจากหลักฐานข้อมูลการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ทำในสตรีสูงอายุวัยหมดประจำเดือนชาวยุโรปเป็นหลัก
ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่าน fulltext ได้ตาม linkhttps://academic.oup.com/jbmr/article/39/10/1393/7723496