28 ตุลาคม 2020

Management of Latent Autoimmune Diabetes in Adults: A Consensus Statement From an International Expert Panel

Latent Autoimmune Diabetes in Adults หรือย่อว่า LADA ผู้เป็นเบาหวานกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คือในระยะแรกสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลินแต่ตรวจพบมี immunogenetic markers แบบที่พบในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วย โรคกลุ่มนี้พบได้ราวร้อยละ 2-12 ของผู้เป็นเบาหวานในวัยผู้ใหญ่ เป้าหมายในการรักษาผู้เป็นเบาหวานกลุ่มนี้คือการควบคุม metabolic control ร่วมไปกับการ preserve residual insulin secretory capacity

เนื่องจากปัจจุบันแทบไม่มีข้อมูลการศึกษาในผู้เป็นเบาหวานกลุ่มนี้เลย ล่าลุด International Expert Panel จึงได้ออกคำแนะนำเฉพาะของ LADA แยกออกมาต่างหากจากเบาหวานชนิดอื่นโดยการตัดสินทางเลือกการรักษาจะเน้นที่การประเมินค่า C-peptide ซึ่งสะท้อนถึง Beta-cell function ซึ่งคำแนะนำนี้แบ่งแนวทางการดูแลออกเป็น 3 กลุ่มตามค่า Random C-peptide level ได้แก่

  1. C-peptide levels <0.3 nmol/L แนะนำรักษาด้วย multiple-insulin regimen แบบเดียวกับเบาหวานชนิดที่ 1
  2.  C-peptide levels 0.3-0.7 nmol/L เป็นกลุ่ม gray area ซึ่งแนะนำรักษาด้วย modified ADA/EASD algorithm สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยพิจารณาใช้อินซูลินร่วมกับทางเลือกอื่นๆ ในการจัดการปัญหา Beta-cell failure และจำกัดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
  3. C-peptide levels >0.7 nmol/L แนะนำรักษาด้วย modified ADA/EASD algorithm สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นกันแต่แนะนำให้ติดตามระดับ C-peptide เพื่อประเมิน progressive nature ของโรคและปรับการรักษา

ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่าน fulltext และ download ได้ฟรีตามลิ้งค์

https://diabetes.diabetesjournals.org/content/diabetes/69/10/2037.full.pdf?fbclid=IwAR3v39fwxTEqgQAmMEIQs1_pTHLGvDWPc6_HPitsoTtNN4Yb51-u29l23LA

Share on social media:
Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram

โพสที่เกี่ยวข้อง