Male Hypogonadism คือภาวะที่มีอาการของระดับฮอร์โมน testosterone ลดลง เนื่องจากความผิดปกติที่ hypothalamic-pituitary-testicular axis แบ่งเป็น primary hypogonadism เมื่อพบความผิดปกติที่ testicular level และ secondary hypogonadism เมื่อพบความผิดปกติที่ hypothalamus หรือ pituitary gland
ในปี ค.ศ. 2018 ทาง Endocrine Society ได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการวินิจฉัย การรักษา และการติดตามภาวะ testosterone deficiency
โดยแนะนำให้ตรวจหา male hypogonadism เมื่อมีอาการและอาการแสดงของการขาดฮอร์โมน testosterone ซึ่งวินิจฉัยได้จากการตรวจระดับ fasting morning total testosterone ด้วยวิธีมาตราฐาน และแนะนำให้ตรวจระดับฮอร์โมนซ้ำ หากพบค่าผิดปกติจากผลตรวจครั้งแรก (พิจารณาตรวจระดับ free testosterone ในรายที่มีการเปลี่ยนแปลงของ sex hormone-binding globulin) และพิจารณาหาสาเหตุของ male hypogonadism ด้วยเสมอ
การรักษา male hypogonadism คือการให้ฮอร์โมน testosterone เพื่อรักษาอาการจากการขาดฮอร์โมน และให้ผู้ป่วยยังมี secondary sex characteristics โดยการตัดสินใจรักษา แพทย์ควรให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยให้ทราบชนิดของยา ประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางการติดตามรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจ หากมีการให้ฮอร์โมนทดแทน ควรพิจารณาปรับขนาดยาทุก 3-6 เดือน โดยให้ระดับฮอร์โมน testosterone อยู่ใน mid-normal range ให้ติดตามอาการ รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย
จาก J Clin Endocrinol Metab 103 (5): 1-30, 2018.
อ่านต่อ https://academic.oup.com/jcem/advance-article/doi/10.1210/jc.2018-00229/4939465