ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง โดยมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
– ความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน มากกว่า 150/100 mm Hg
– ความดันโลหิตสูง >140/90 mm Hg ทั้งที่ได้รักษาด้วยยาลดความดันอย่างเหมาะสม อย่างน้อย3ตัวแล้ว (โดยมียาขับปัสสาวะร่วม)
– ความดันโลหิตสูง คุมได้ BP (<140/90 mm Hg) แต่ต้องใช้ยาลดความดัน มากกว่าหรือเท่ากับ 4 ชนิด
– ความดันโลหิตสูง ร่วมกับโปเเทสเซียมในเลือดต่ำ (spontaneous or diuretic-induced hypokalemia)
– ความดันโลหิตสูง ร่วมกับตรวจพบเนื้องอกต่อมหมวกไตโดยบังเอิญ (adrenal incidentaloma)
– อื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะหยุดหายใจ หรือประวัติครอบครัวเป็นความดันตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่อายุ <40 ปี หรือ ประวัติคนในครอบครัวเป็น primary aldosteronism
ควรได้รับการตรวจหาภาวะ primary aldosteronism โดยส่งเลือดตรวจระดับ aldosterone-renin ratio เพื่อให้การส่งตรวจเพิ่มเติมในการยืนยันการวินิจฉัย การตรวจต่อมหมวกไตทางรังสีวิทยาและ adrenal vein sampling ตลอดจนให้รักษาอย่างเหมาะสม โดย laparoscopic adrenalectomy.
อ่านเนื้อหา จาก The Management of Primary Aldosteronism: Case Detection, Diagnosis, and Treatment: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline
อ่านต่อตามลิงค์ https://academic.oup.com/jcem/article-lookup/doi/10.1210/jc.2015-4061