ต้นเดือนพฤษภาคม 2567 ทาง European Society of Endocrinology ร่วมกับ Endocrine Society ได้ทำ Joint Clinical Guideline เกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาภาวะ glucocorticoid-induced adrenal insufficiency สรุปดังนี้
1. คำแนะนำทั่วไปในการรักษาด้วย glucocorticoid สำหรับ non-endocrine conditions และคำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
การรักษาด้วย glucocorticoid ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาหรือ tape off ยา สามารถทำได้โดยแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางต่อมไร้ท่อ
แพทย์ผู้ดูแลควรให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับผลกระทบทางต่อมไร้ท่อจาก glucocorticoid
ผู้ป่วยควรมีช่องทางเข้าถึงความรู้ที่อัพเดตและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบทางต่อมไร้ท่อจาก glucocorticoid
2. คำแนะนำเกี่ยวกับ tape ยา systemic glucocorticoid ในการรักษา non-endocrine conditions, การวินิจฉัยและการ approach ภาวะ glucocorticoid-induced adrenal insufficiency และ glucocorticoid withdrawal syndrome
กรณีที่ได้ short-term glucocorticoid (ไม่เกิน 3-4 สัปดาห์) ไม่ว่าจะได้ dose เท่าไรก็ตาม สามารถหยุดได้เลยโดยไม่ต้อง tape ยา และไม่ต้องทำการทดสอบ เพราะมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิด hypothalamic-pituitary-adrenal axis (HPA axis) suppression
กรณีที่ได้ long-term glucocorticoid จะ tape ยา glucocorticoid ต่อเมื่อโรคที่รักษาด้วย glucocorticoid นั้นควบคุมได้ดีและไม่จำเป็นต้องได้ยา glucocorticoid แล้ว ให้ tape ยาลงจนถึง physiologic daily dose equivalent คือ prednisone 4-6 มก.
Glucocorticoid withdrawal syndrome อาจเกิดระหว่าง tape glucocorticoid ถ้าอาการรุนแรง ให้เพิ่มขนาด glucocorticoid ไปถึงขนาดเดิมที่ได้ล่าสุดก่อนชั่วคราว และให้ tape ขนาดลงอย่างช้า ๆ
ไม่แนะนำการทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะ adrenal insufficiency ในขณะได้ supraphysiologic dose ของ glucocorticoid หรือยังจำเป็นต้องรักษาด้วย glucocorticoid อยู่
ถ้าไม่จำเป็นต้องได้ long-acting glucocorticoid (เช่น dexamethasone, betamethasone) แล้วควรเปลี่ยนเป็น shorter-acting glucocorticoid (เช่น hydrocortisone, prednisone)
เมื่อผู้ป่วยได้ tape ยาจนถึง physiologic daily dose equivalent แล้ว และต้องการหยุดยา สามารถทำวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
ค่อย ๆ tape ขนาดยา glucocorticoid ลง โดยติดตามอาการและอาการแสดงของ adrenal insufficiency หรือ
ตรวจ morning serum cortisol
การตรวจว่ามี recovery ของ HPA axis แนะนำให้ตรวจ morning serum cortisol เป็นอันดับแรก โดยถ้าค่ายิ่งสูง ยิ่งมีการ recovery ของ HPA axis ได้มาก
Morning serum cortisol > 10 μg/dL แสดงว่ามี recovery ของ HPA axis สามารถหยุด glucocorticoid ได้อย่างปลอดภัย
Morning serum cortisol 5-10 μg/dL ควรให้ physiologic glucocorticoid dose ต่อและควรตรวจ morning cortisol ซ้ำอีกในระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือน ตามความเหมาะสม
Morning serum cortisol < 5 μg/dL ควรให้ physiologic glucocorticoid dose ต่อและควรตรวจ morning cortisol ซ้ำอีก 2-3 เดือน
ไม่แนะนำให้ทำ dynamic test สำหรับวินิจฉัย adrenal insufficiency ในผู้ป่วยที่จะ tape หรือหยุด glucocorticoid เป็น routine test
แนะนำให้ระวังโอกาสเกิด glucocorticoid-induced adrenal insufficiency ในผู้ป่วยดังต่อไปนี้
กำลังได้หรือเพิ่งได้ non-oral glucocorticoid formulation และมีอาการและอาการแสดงของ adrenal insufficiency หรือ
กำลังใช้ multiple glucocorticoid formulations ในเวลาเดียวกัน หรือ
กำลังใช้ high-dose inhaled or topical glucocorticoid หรือ
กำลังใช้ inhaled หรือ topical glucocorticoid > 1 ปี หรือ
ได้รับ intra-articular glucocorticoid injections ในช่วง 2 เดือน หรือ
ได้รับยาที่เป็น strong cytochrome P450 3A4 inhibitors
ผู้ป่วยที่กำลังได้หรือเคยได้ glucocorticoid treatment และมีอาการและอาการแสดงของ Cushing syndrome ให้นึกถึงภาวะ glucocorticoid-induced adrenal insufficiency
ถ้าผู้ป่วยที่จะหยุด glucocorticoid จน tape ได้เป็น physiologic daily dose equivalent แล้ว แต่ยังไม่มี recovery ของ HPA axis ภายใน 1 ปี ควรส่งต่อพบแพทย์ทางต่อมไร้ท่อ
ไม่แนะนำให้ใช้ fludrocortisone ในผู้ป่วย glucocorticoid-induced adrenal insufficiency
3. คำแนะนำในการวินิจฉัยและรักษาภาวะ adrenal crisis ในผู้ป่วย glucocorticoid-induced adrenal insufficiency
ผู้ป่วยที่ยังได้รับหรือเพิ่งได้รับ glucocorticoid และยังไม่ได้ทำการตรวจเพื่อ rule out glucocorticoid-induced adrenal insufficiency แนะนำให้เพิ่มขนาด glucocorticoid เป็น stress dose เมื่อมีภาวะ stress
กรณี minor stress และไม่มี hemodynamic instability และไม่มี prolonged vomiting/diarrhea สามารถให้เป็น oral glucocorticoid ได้
กรณี moderate to major stress, ทำหัตถการภายใต้ general หรือ regional anesthesia, หัตถการที่ต้องงดอาหารเป็นเวลานาน, มี hemodynamic instability, prolonged vomiting/diarrhea ควรให้เป็น parenteral glucocorticoid
ผู้ป่วยที่ยังได้รับหรือเพิ่งได้รับ glucocorticoid และยังไม่ได้ทำการตรวจเพื่อ rule out glucocorticoid-induced adrenal insufficiency และมาด้วย hemodynamic instability, vomiting/diarrhea ควรวินิจฉัยเป็น adrenal crisis ไม่ว่าจะเคยได้ glucocorticoid ในรูปแบบและขนาดใด โดยรักษาด้วยการให้ parenteral glucocorticoid และ fluid resuscitation
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก full text ของ Endocrine Society หรือ European Society of Endocrinology